วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

OTOP

ภูมิปัณญาท้องถิ่น
ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวคลองน้อย

ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว





 1.ประวัติความเป็นมา
                        มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประดยชน์ได้หลายอย่าง และทุกส่วนของมะพร้าว เช่น เปลือก น้ำ และเนื้อของมะพร้าว กะลามะพร้าว เป็นต้น กะลามะพร้าวเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลายชนิด เช่ย โคมไฟ กระปุกออมสิน เข็มขัด กระดุมเสื้อ ฯลฯ
                         เนื่องจากในพื้นที่ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิ้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยลำคลอง ลำบางหลายสาย ประกอบด้วยเนื้อที่จำนวน 6,576  ไร่ หรือ 10.14 ตารางกิโลเมตร ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร ทำสวนมะพร้าว เป็นอันดับหนึ่งที่สร้างชื่อเสียง และรายได้ให้ราษฎรในตำลบบางใบไม้ มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จึงได้นำกะลมะพน้าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน โดยสืบสานอนุรักษ์ใช้ภูมิปัญญาเริ่มแรกของบรรพบุรุษสืบทอดกันมา และได้มีการเรีนรู้เพิ่มเติมของชาวบ้านในหมู่บ้านในปี พ.ศ.2545 โดยนางสุวรรณี ณ พัทลุง หรือครูแดง ซึ่งเป็นครูเกษียณอายุราชการและเป็นประธารคณะกรรมการการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) หมู่ที่ 1 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นบุคคลแดรกที่ได้นำกระบวนการขั้นตอนในปารผลิตไปสอนเด็กนักเรียนในโรงเรียนโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้อนุรักษ์ภูมิปัญญาสืบทอดต่อไปรุ่นลูก หลาน ในการผลิตกะลามะพร้าว ต่อมาได้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ทันสมัยขึ้น สามารถมีกำลังในการผลิตได้จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น ภายในระยะเวลาสั้นๆ และมีคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าเดิม จำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้ิน ทำให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มขึ้นในหมู่บ้านและหันมาผลิตกะลามะพร้าวอย่างจริงจัง จนมีชื่อเสียงในคลองน้อย เป็นสถานที่ทัศนะศึกษาดูงานของกลุ่ม องค์กร หน่วยงาน และผู้ที่สนใจ
                          ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว รูปแบบต่างๆเพิ่มมากขึ้น และมีความสวยงาม คงทน เป็นที่สนใจ ตามความต้องการของลูกค้า กลุ่มจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิต ประกอบการ OTOP ในปีพ.ศ. 2552 - 2553 และเข้ารับการคัดผลิตภัณฑ์ จนได้ระดับ 3 ดาว และส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานในการผลิตกะลามะพร้าวเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน ของที่ระลึก และเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชื่อว่า "บ้านครูแดง" โดยตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 69 หมูที่ 1 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี



 1.2 อัตลักษณ์ และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์
       1.เป็นผลผลิตด้านการเกษตร และมีอยู่ในท้องถิ่น
       2.เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิม ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ นำกะลามาประดิษฐ์ เป็นเครื่องใช้เพิ่มมูลค่า
       3.เป็นประโยชน์ใช้สอยเป็นเครื่องใช้ ประดับตกแต่งในครัวเรือน ไม่มีมลพิษ

 1.3 มาตฐานและรางวัลที่ได้รับ
       1. หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น OTOP
       2. กลุ่มผู้ผลิต ประกอบการ OTOP ปี 2553 คักสรร 3 ดาว
       3. ศูนย์กานเรียนรู้ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว ระดับอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
       4. มผช.เลขที่ 8 ปี 2546 หมดอายุวันที่ 14 มิถุนายน 2556
1.4  ความสัมพันธ์กับชุมชน

                ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวเป็นองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้าน โดยความรู้ดั้งเดิมจากบรรพบุรุษที่นำเอามะพร้าว ซึ่งเป็นผลด้านการเกษตรมาแปรรูป ให้เกิดประโยชน์โดยผลิตมาเป็นวัสดุเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยใช้ประโยชน์จากผลผลิตการเกษตรในท้องถิ่นที่มีอยู่ หาได้ง่าย ลงทุนน้อย ครัวเรือนสามารถผลิต จำหน่าย เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน โดยคนในชุมชนรวมตัวกันเป็นสมาชิกกลุ่มในการผลิต จำหน่าย โดยชุมชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีการลงหุ้นออมทรัพย์ของกลุ่ม เพื่อเป็นการระดมทุนช่วยเหลือกันและกันทำให้ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านภูมิปัญญาอย่างแท้จริง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น