วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภาคผนวก

ภาพจากการศึกษาดูงานในชุมชนบางใบไม้













แบบสอบถาม

แบบสอบถาม

กระปุกอกมสินจากกะลา

                         
กระปุกออมสิน

จาก

กะลามะพร้าว


                             


        เมื่อพูดถึงมะพร้าว เราจะพบว่า มะพร้าวมีประโยชน์มากมาย ทุกส่วนของมะพร้าวทำประโยชน์ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้อมะพร้าว ที่มักนำไปทำเป็นขนม นำไปคั้นทำเป็นกะทิ แต่ก็ไม่ใช่เนื้อหรือน้ำเท่านั้น แม้แต่กะลามะพร้าว ถ้าเรามีหัวทางด้านศิลปอยู่บ้าง และสนใจที่จะทำเป็นอาชีพ ก็สามารถที่จะประดิษฐ์กะลาพร้าว ให้เป็นงานฝีมือต่างๆ เช่น ประดิษฐ์เป็นของประดับ,ทำเป็นกระปุ๊กออมสินรูปต่างๆ,ทำเป็นโมบายล์, ทำเป็นของชำร่วย และอื่นๆ ตามแต่ที่จินตนาการเลย ทำให้สร้างรายได้ ได้เป็นกรอบเป็นกำเลยทีเดียว เนื่องด้วยจากต้นทุนที่ต่ำมาก (กะลามะพร้าวทั่วไปหาได้ง่ายมาก หรืออาจจะไปซื้อมะพร้าวมาทำก็ได้เลย) เอาล่ะพล่ามมาพอแล้ว เรามาดูวิธีการทำกันดีกว่า

วัสดุ/อุปกรณ์
  1. กะลามะพร้าว
  2. มอเตอร์ที่ใส่ใบเลื่อยไฟฟ้า
  3. กระดาษทราย หยาบ ละเอียด
  4. ก้อนหินขัดมัน
  5. กาวร้อน
  6. หวาย
  7. ไม้ตาล

วิธีทำ 
  1. สั่งซื้อกะลามะพร้าว งานประดิษฐ์กะลามะพร้าวสามารถใช้กะลามะพร้าวได้ทุกชนิด โดยเฉพาะพันธ์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก สามารถประดิษฐ์เป็นแก้วกาแฟ หรือแก้วไวน์ได้.  กะลามะพร้าวต้องขูดเอาเนื้อออกทั้งหมด (ให้เหลือแต่กะลาเปล่าๆ) 
  2. วาดรูปบนกะลาให้ตรงตามแบบที่ต้องการ และนำไปตัดด้วยมอร์เตอร์ติดเลื่อยไฟฟ้า ให้มีขนาดใกล้เคียงหรือถ้าเป็นเครื่องประดับต้องตัดให้พอดี
  3. หลังจากตัดแล้วให้เนามาขัดด้วยกระดาษทรายทั้ง 2 ด้าน สัก 4 ครั้ง (ประมาณ 4 ครั้ง จะได้กะลาที่ผิวเรียบกำลังดี)
    1. ขัดครั้ง แรก ใช้กระดาษทราย เบอร์ 60 ขัดจนกว่าเยื่อที่ยึดติดกับกะลาออกหมด
    2. ขัดครั้งที่ สอง ใช้กระดาษทรายเบอร์ 220
    3. ขัดครั้งที่ สาม ใช้กระดาษทรายเบอร์ 400
    4. ขัดครั้งที่ สี่ ใช้กระดาษทรายเบอร์ 600 กะลามะพร้าวจะเริ่มเรียบเป็นมัน
  4. นำมาขัดด้วยก้อนขัดมัน หรือก้อนยาขาว ซึ่งจะทำให้กะลามีผิวที่ลื่นและมันวับ ก่อนที่จะนำไปประกอบกับด้ามจับที่ทำจาก ไม้ตาล (ไม้ตาลต้องตัดให้เป็นรูปทรงที่ต้องการก่อน)
  5. ขัด ไม้ตาล ให้มันแบบเดียวกับกะลา (ใช้วิธีเดียวกัน) ให้ตอกหมุดยึดด้ามกับกะลา และใช้หวายถักปิดรอบบริเวณที่ตอกหมุด
  6.  ถ้าภาชนะไหนที่ไม่สามารถตอกหมุดได้ ให้ใช้กาวร้อนยึดติดกันแทน ก็จะเสร็จขั้นตอนการทำภาชนะจากกะลา หรือสามารถนำไปตกแต่งเพิ่มเติมทีหลังได้
แหล่งจำหน่าย/ตลาด/ลูกค้า
  1. สถานที่ท่องเที่ยว
  2. ร้านของที่ระรึก/ขายของฝาก
  3. ขายตามเทศกาลต่างๆ (งานวัด, ลอยกระทง, สงกรานต์ ฯลฯ)

กระบวนการผลิต

กระบวนการผลิต

ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว


                 วัสดุที่ใช้ เครื่องมือและอุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว

1.กะลามะพร้าว
2.เลื่อยฉลุ
3.หลอดไฟ สายไฟ ปลั๊กไฟ
4.สว่านเจาะ
5.เทปพันสายไฟ
6.กระดาษทรายหยาบ
7.ไม้อัดเหลือใช้
8.กระดาษทรายละเอียด
9.เครื่องยิงกาว
10.ดินสอวงเวียน ดินสอ
11.สีไม้โอ๊ก
12.แล็คเกอร์
13.แปรงสำหรับทาสี
14.กระดาษลอกลาย
15.สิ่ว
16.ขวาน
17.มืด

ขั้นตอนในการผลิต
               
       1.นำกะลามะพร้าวลูกที่ 1 ปอกเปลือกให้หมด เจาะรูด้านล่าง  1 รูขนาดเท่าเส้นผ่าศูนย์กลาง1เซนติเมตร วาดลวดลายมีหยดน้ำ 3 หยด ขนาดใหญ่และขัดกะลาให้เป็นเงา แล้วทาสีไม้โอ๊ก หรือแล็คเกอร์ให้เรียบร้อย
       2.นำกะลาลูกที่ 2 ตัดครึ่งลูกทำเป็นฐานเจาะรูตรงกลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตรและเจาะรูด้านข้างกะลาเพื่อติดสายไฟ และขัดมันให้เรียบร้อยทาด้วยสีไม้โอ๊ก
       3.นำชิ้นส่วนกะลาทั้ง 2 ส่วน มาติดเข้าด้วยกันให้สนิทด้วยการยิง และนำสายไฟติดปลั๊กไฟเข้าที่กลางฐานกะลา และสอดสายไฟเข้าด้านข้างของกะลา  ที่เจาะรูไว้เข้าทำเป็นฐาน
       4.นำหลอดไฟติดเข้ากับหลอดไฟให้ถูกต้องแล้วตรวจสอบให้เรียบร้อ



ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

OTOP

ภูมิปัณญาท้องถิ่น
ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวคลองน้อย

ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว





 1.ประวัติความเป็นมา
                        มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประดยชน์ได้หลายอย่าง และทุกส่วนของมะพร้าว เช่น เปลือก น้ำ และเนื้อของมะพร้าว กะลามะพร้าว เป็นต้น กะลามะพร้าวเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลายชนิด เช่ย โคมไฟ กระปุกออมสิน เข็มขัด กระดุมเสื้อ ฯลฯ
                         เนื่องจากในพื้นที่ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิ้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยลำคลอง ลำบางหลายสาย ประกอบด้วยเนื้อที่จำนวน 6,576  ไร่ หรือ 10.14 ตารางกิโลเมตร ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร ทำสวนมะพร้าว เป็นอันดับหนึ่งที่สร้างชื่อเสียง และรายได้ให้ราษฎรในตำลบบางใบไม้ มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จึงได้นำกะลมะพน้าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน โดยสืบสานอนุรักษ์ใช้ภูมิปัญญาเริ่มแรกของบรรพบุรุษสืบทอดกันมา และได้มีการเรีนรู้เพิ่มเติมของชาวบ้านในหมู่บ้านในปี พ.ศ.2545 โดยนางสุวรรณี ณ พัทลุง หรือครูแดง ซึ่งเป็นครูเกษียณอายุราชการและเป็นประธารคณะกรรมการการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) หมู่ที่ 1 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นบุคคลแดรกที่ได้นำกระบวนการขั้นตอนในปารผลิตไปสอนเด็กนักเรียนในโรงเรียนโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้อนุรักษ์ภูมิปัญญาสืบทอดต่อไปรุ่นลูก หลาน ในการผลิตกะลามะพร้าว ต่อมาได้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ทันสมัยขึ้น สามารถมีกำลังในการผลิตได้จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น ภายในระยะเวลาสั้นๆ และมีคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าเดิม จำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้ิน ทำให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มขึ้นในหมู่บ้านและหันมาผลิตกะลามะพร้าวอย่างจริงจัง จนมีชื่อเสียงในคลองน้อย เป็นสถานที่ทัศนะศึกษาดูงานของกลุ่ม องค์กร หน่วยงาน และผู้ที่สนใจ
                          ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว รูปแบบต่างๆเพิ่มมากขึ้น และมีความสวยงาม คงทน เป็นที่สนใจ ตามความต้องการของลูกค้า กลุ่มจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิต ประกอบการ OTOP ในปีพ.ศ. 2552 - 2553 และเข้ารับการคัดผลิตภัณฑ์ จนได้ระดับ 3 ดาว และส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานในการผลิตกะลามะพร้าวเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน ของที่ระลึก และเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชื่อว่า "บ้านครูแดง" โดยตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 69 หมูที่ 1 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี



 1.2 อัตลักษณ์ และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์
       1.เป็นผลผลิตด้านการเกษตร และมีอยู่ในท้องถิ่น
       2.เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิม ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ นำกะลามาประดิษฐ์ เป็นเครื่องใช้เพิ่มมูลค่า
       3.เป็นประโยชน์ใช้สอยเป็นเครื่องใช้ ประดับตกแต่งในครัวเรือน ไม่มีมลพิษ

 1.3 มาตฐานและรางวัลที่ได้รับ
       1. หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น OTOP
       2. กลุ่มผู้ผลิต ประกอบการ OTOP ปี 2553 คักสรร 3 ดาว
       3. ศูนย์กานเรียนรู้ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว ระดับอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
       4. มผช.เลขที่ 8 ปี 2546 หมดอายุวันที่ 14 มิถุนายน 2556
1.4  ความสัมพันธ์กับชุมชน

                ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวเป็นองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้าน โดยความรู้ดั้งเดิมจากบรรพบุรุษที่นำเอามะพร้าว ซึ่งเป็นผลด้านการเกษตรมาแปรรูป ให้เกิดประโยชน์โดยผลิตมาเป็นวัสดุเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยใช้ประโยชน์จากผลผลิตการเกษตรในท้องถิ่นที่มีอยู่ หาได้ง่าย ลงทุนน้อย ครัวเรือนสามารถผลิต จำหน่าย เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน โดยคนในชุมชนรวมตัวกันเป็นสมาชิกกลุ่มในการผลิต จำหน่าย โดยชุมชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีการลงหุ้นออมทรัพย์ของกลุ่ม เพื่อเป็นการระดมทุนช่วยเหลือกันและกันทำให้ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านภูมิปัญญาอย่างแท้จริง


วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชุมชนบางใบไม้

ชุมชนบางใบไม้


ชุมชนบางใบไม้ ชุมชนบ้านสวนริมคลองที่คนท้องถิ่นเรียกในบาง หมายถึงละแวกในคลอง เป็นแหล่งที่น่าเที่ยว สามารถว่าจ้างเรือจากท่าเรือกลางเข้าไปเที่ยวในคลอง หรือขับรถมาเองแล้วติดต่อหาเช่าเรือที่หน้าวัดบางใบไม้ก็ได้ 

เส้นทางรถยนต์เป็นถนนลาดยาง แต่มีหลุมบ่อมากต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง ย่านนี้มีของกินอร่อยขึ้นชื่อหลากหลายหากขับรถเข้าไปเที่ยวที่ ต.บางใบไม้ พอลงสะพานข้ามแม่น้ำตาปีแล้วขับไปประมาณ 1 กม. ข้ามสะพานข้ามคลองบางภูชี ขวามือจะมีเพิงเล็กๆ ขายข้าวเหนียวปิ้งและขนมจากที่มีชื่อของย่านนี้ เมื่อถึงวัดบางใบไม้ จอดรถแล้วเดินข้ามสะพานข้ามคลองมีก๋วยเตี๋ยวหมูชื่อร้านบ้านริมน้ำ นอกจากนี้มีร้านครัวเจ๊พร ขายอาหารพื้นบ้านรสชาติดี

ที่ตั้งและการเดินทาง ต.บางใบไม้ อ.เมือง

รถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองสุราษฎร์ ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำตาปี ขับตรงไปอีก 2 กม. สังเกตปั๊มน้ำมันไม่มียี่ห้อปากทางเข้าทางขวา เลี้ยวขวาผ่านสวนไป 200 ม.จะถึงวัดบางใบไม้

รถรับจ้าง ขึ้นรถตุ๊กตุ๊กในตัวเมืองสุราษฎร์
มอเตอร์ไซค์รับจ้าง บริเวณศาลหลักเมือง

สิ่งน่าสนใจ
วิถีชีวิตริมคลอง เริ่มต้นที่วัดบางใบไม้ จากนั้นเดินข้ามสะพานข้ามคลอง ผ่านย่นสวนมะพร้าว บ้านเป็นเรือนไม้ยกพื้นหลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าว ซ่อนตัวในสวนอันร่มรื่น แทบทุกหลังมีสะพานอยู่ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน หากมาเที่ยวในตอนเช้าตรู่อาจได้เห็นพระสงฆ์พายเรือมาบิณฑบาต วัดบางใบไม้เป็นวัดเล็กๆ มีพระพุทธรูปปั้นจากข้าวสุกก้นบาตรอายุกว่า 70 ปี ภายนอกหุ้มด้วยทองเหลือง

นั่งเรือเที่ยว มีจุดเช่าเรือเที่ยวอยู่สองแห่งคือ

1.ลงเรือที่ท่าเรือกลาง คนเรือจะพาล่องไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ คือออกจากท่าเรือกลางเข้าคลองบางใบไม้ ไปบ้านปลายคลอง ชมการเผาถ่านจากกะลามะพร้าว และกลับมาที่จุดเดิม.

2.ลงเรือที่หน้าวัดบางใบไม้ โดยติดต่อผู้ใหญ่จรัญญา ศรีรักษ์ โทร.0-7727-3073 จะผ่านเส้นทางบางเบิดล่าง บางไผ่วนกลับมาที่วัดบางใบไม้ มีจุดที่น่าสนใจ คือ

- บ้านป้าบุญยัง ป้าบุญยัง บุญมี มีอาชีพทำสวนมะพร้าวและมีรายได้เสริมจากการผลิตงานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว มีทั้งที่มัดผม โคมไฟ ชุดกาแฟ กระเป๋าถือประดับด้วยเครื่องถมจากนครศรีฯ พาน ชุดหม้อแบ่งข้าว กาน้ำ งานหัตถกรรมแต่ละอย่างทำจำนวนไม่มาก สั่งซื้อได้เฉพาะที่นี่

นอกจากนี้ยังมีการทำถ่านจากกะลามะพร้าว และมีมะพร้าวอ่อนน้ำหอมที่มักนำมาให้นักท่องที่เที่ยวลองชิม หากติดใจจะซื้อกลับไปก็ได้ สนนราคาผลละ 4-5 บาท

- เรือนโบราณ 200 ปี ถัดจากบ้านป้าบุญยังไปประมาณ 10 นาที ผ่านป่าจากและสวนมะพร้าวอันร่มรื่น จะถึงบ้านโบราณ ซึ่งมีลักษณะเป็นเรือปั้นหยาแฝด สร้างโดยใช้วิธีการเข้าสลักไม้ยึดโครงสร้างของบ้านแทนการตอกตะปู สร้างขึ้นราว พ.ศ.2323-2325 โดยขุนประจันศึกประชิด นายทหารจากกรุงศรีอยุธยาที่มารักษากำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ภายหลังออกจากราชการแล้วได้มาอาศัยอยู่ในเรือนริมคลองนี้ ปัจจุบันมีคุณยายผัน อายุ 87 ปี เป็นผู้ดูแล แต่สภาพโดยรอบค่อนข้างทรุดโทรม

- ดูลิงกังเก็บพร้าว ปกติในย่านนี้จะมีลิงเก็บมะพร้าวกันตลอดปี เป็นภาพชีวิตชาวสวนแท้ๆ ที่ไม่ใช่การแสดง หากโชคดีอาจมีโอกาสได้จอดเรือแวะชม ถ้าต้องการทราบว่ามีการเก็บมะพร้าวที่สวนใครบ้าง ลองสอบถามที่ร้านครัวเจ๊พรก่อนเดินทางก็ได้

ขี่จักรยานชมสวน นักท่องเที่ยวสามารถนำจักรยานไปขี่ชมสวนตามเส้นทางที่สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 5 ได้จัดทำไว้ผ่านสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น สวนสาธารณะเกาะลำพู ย่านสวนมะพร้าว ชุมชนชาวบ้านริมคลอง บ้านโบราณ วัดบางใบไม้ เป็นต้น